วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15
วันอัคาร ที่ 2 ธัวาคม พ.ศ. 2557


วันนี้อาจารย์ให้ทำแผ่นพับ "สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน" เป็นกลุ่ม

  - หน้าแรก  วาดสัญลักษณ์ของโรงเรียนและเขียนชื่อของเด็กและชื่อของครูประจำชั้น  ออกแบบตามใจชอบ
  - สิ่งที่ต้องการให้ผู้ปกครองช่วยเหลือ เช่น อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถนำมาทำกิจกรรมได้
  - สาระหน้ารู้เกี่ยวกับหน่วย "น้ำ"
  - กิจกรรมที่จะให้เด็กทำ
  - แบบฝึกหัดที่ให้ผู้ปกครองสอนเด็ก/บุตร
  - เพลงและคำคล้องจ้อง
  - ชื่อผู้จัดทำ
 ***อาจารย์ได้ชี้แนะแนวทางในการทำ แผ่นพับ "สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน"  ให้ถูกต้องและเหมาะสม


การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถทำใช้ได้จริงในวิชาชีพครู แต่ควรทำให้สวยมากกว่านี้ ควรมีวิธีการออกแบบอย่างสวยงาม ให้มีความน่าสนใจ
ประเมินตนเอง
          การออกแบบ ยังไม่สวยงามเท่าไหร่นัก แต่เชื่อว่าจะพัฒนาให้สวยมากกว่านี้
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีการออกแบบไม่เหมือนกัน บางกลุ่มสวยงาม แต่บางกลุ่มก็ต้องปรับปรุงฝีมือตนเอง
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์ได้ชี้แนะแนวทางในการทำแผ่นพับ บอกขั้นตอนในการทำแต่ละขั้นตอน และหัวข้อที่ต้องเขียนลงแผ่นพับ เพื่อให้มีเนื้อหาสาระที่เหมาะสม

สรุปวิจัย โทรทัศน์ครู และบทความ


สรุปวิจัย
วิจัย : เรื่อง ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง
         ผู้เขียนวิจัย : อ.สารภี ชมพูคำ             มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ตัวแปร
  ตัวแปรต้น : พัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง แผนการจัดประสบการณ์
  ตัวแปรตาม : การพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

นิยาม
   ทักษะพื้นฐาน
     1. ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการบอกความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จากการใช้ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ หรือเหตุการณ์
     2.ทักษะการวัด คือ การใช้เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ เป็นหน่วยวัดที่มีหรือไม่มีมาตรฐาน ซึ่งอาจไม่มีหน่วยกำกับก็ได้ เช่น นิ้ว คืบ ศอก
     3. ทักษะการจำแนก คือ ความสามารถในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งของที่อยู่โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะ ผิว ส่วนสิ่งมีชีวิตใช้เกณฑ์อาหาร ลักษณะที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์


วิธีดำเนินการวิจัย

แผนการจัดประสบการณ์ พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์พื้นฐานและสอดคล้องการทำงานของสมอง

หน่วย : เสียงรอบตัว
1.เรื่อง : เสียงอะไรเอ่ย
จุดประสงค์
1.เด็กบอกเสียงที่ได้ยินได้ถูกต้อง
2. บอกเสียงจากการกระทำของมนุษย์ได้ (ทักษะการสังเกต)
3.จำแนกเสียงที่เกิดจากวัตถุต่างกันได้ถูกต้อง (ทักษะการจำแนก)

2.เรื่อง : เสียงที่แตกต่าง
จุดประสงค์
1.เด็กบอกความแตกต่างของเสียงเมื่อผ่านตัวกลางได้
2.เด็กแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
   (ทักษะการสังเกต)

3.เรื่อง : เสียงจากธรรมชาติ
จุดประสงค์
1.เด็กจับคู่เสียงเขย่าขวดได้
2.เด็กสนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
   (ทักษะการจำแนก)

4.เรื่อง : เสียงไพเราะ
จุดประสงค์
1.เด็กบอกเสียงที่เกิดจากวัตถุต่างกันได้
2.เด็กสนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
   (ทักษะการจำแนก)

5.เรื่อง : ข้อควรระวังจากเสียง
จุดประสงค์
1.เด็กบอกความแตกต่างจากเสียงเครื่องดนตรีได้
2.เด็กแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
   (ทักษะการสังเกต)

การทำงานของสมอง
ข้อที่ 1 การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ข้อที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ในแบบแผนการเรียนรู้
ข้อที่ 3 เรียนรู้พร้อมกัน ทุกระบบ แบบองค์รวม


สรุปผลการวิจัย

          แผนการจัดประสบการณ์ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  แนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้


สรุปโททัศน์ครู

โทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์

เรียนรู้ชนิดของไข่ ส่วนประกอบของไข่ และประโยชน์ของไข่
ขั้นนำ ครูให้นักเรียนเล่นเกมการส่งไข่ แล้วครูเล่านิทานเรื่อง "ไข่ของใคร" ครูเล่านิทานโดยให้เด็กทายว่าไข่ของใคร? ครูนำรูปภาพสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ให้เด็กดู

ขั้นสอน ครูให้เด็กทายว่าไข่ที่ครูเตรียมมามีไข่อะไรบ้าง? แล้วให้เด็กบอกสีของไข่แต่ละชนิด ไข่ที่ครูเตรียมมามี ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่เยี่ยวม้า และไข่เค็ม โดยครูใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ให้เด็กดูว่าไข่แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร? มีอะไรบ้างที่เหมือนและแตกต่างกัน ครูใช้คำถามกับเด็กดังนี้
          -ไข่ในตระกร้าของคุณครูมีไข่หลายขนาด ไข่หลายสี ไข่หลายไซต์ ไข่หลายชนิด มาช่วยคุณครูแยกไข่ได้ไหม
            ครูมีตระกร้า 5 ใบ สีไม่เหมือนกัน ไข่นกกระทาครูใส่ตระกร้าสีแดง ไข่เป็ดครูใส่ตระกร้าสีเขียว ไข่ไก่ครูใส่ตระกร้าสีน้ำเงิน ไข่เค็มครูใส่ตระกร้าสีชมพู ไข่เยี่ยวม้าครูใส่ตระกร้าสีฟ้า
            ครูให้เด็กออกมาแยกไข่แต่ละชนิดใส่ตระกร้า นอกจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วยังสามารถบูรณาการเข้ากับทักษะทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย โดยเด็กได้เรียนรูเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข โดยเด็กได้นับ เปรียบเทียบมาก-น้อย เท่ากันหรือไม่เท่ากัน
            ครูให้เด็กนับจำนวนของไข่แต่ละชนิดในตระกร้า ว่ามีกี่ฟอง และไข่ชนิดไหนมีจำนวนเท่ากัน ไข่ที่มีจำนวนเท่ากันคือ ไข่เค็มและไข่เยี่ยวม้า มี 4 ฟองเท่ากัน
            ต่อมาครูสอนเรื่องส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไร ว่าไข่แต่ละชนิดมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เช่น ไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีสีน้ำตาลดำ ไข่เค็มเนื้อของไข่เค็มจะมีสีขาว เด็กจะได้ฝึกการสังเกตว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้ามีความแตกต่างกันอย่างไร เป็นสีอะไร
          -ครูถามเด็กว่า เด็กๆอยากเห็นไหมว่าข้างในของไข่เป็นยังไง ครูผ่าไข่ให้เด็กดู แล้วบอกว่าไข่มีส่วนประกอบอะไรบ้าง แล้วครูให้เด็กชิมไข่เค็ม แล้วถามเด็กว่า มีรสชาติอย่างไร?
            ไข่เป็ดกับไข่ไก่มองผิวเผินจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ครูต้องพยายามชี้แนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างรหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่ ครูควรมีคำถามถามเด็กว่า ไข่แดงของไข่เป็ดกับไข่ไก่ เป็นยังไง มีสีที่เหมือนกันไหมหรือแตกต่างกันอย่างไร
             ครูกับเด็กร่วมกันทำ Cooking ไข่หวาน ครูควรสอดแทรกสิ่งที่ควรระวังในการประกอบอาหารให้แก่เด็ก

ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันบอกประโยชน์ในการรับประทานไข่แล้วร่างกายแข็งแรง


วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14
วันอังคาร ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


          วันนี้อาจารย์ถามเรื่องแผน ว่าเสร็จเรียบร้อยหรือยัง แต่ทุกกลุ่มยังเสร็จไม่เรียบร้อยดี เลยยังไม่ขอส่ง อาจารย์เลยบอกให้กลับไปทำให้เสร็จเรียบร้อย แล้วนำมาส่ง

อาจารย์ให้ส่งสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์พร้อมบอกความเป็นมา และให้แยกหมวดหมู่ของสื่อ

1. หมวดเสียง

2. หมวดอากาศ

3. หมวดพลังงาน

4. หมวดน้ำ

5. หมวดจุดสมดุล


ต่อด้วยทำหวานเย็น
อุปกรณ์



วิธีทำ




1.นำน้ำหวานผสมกับน้ำ
2. กรอกน้ำหวานใส่ถุง
3. นำถุงน้ำหวานใส่หม้อ
4. เทน้ำแข็งบดใส่หม้อ ใส่เกลือลงในน้ำแข็งพอประมาณ
5.หมุนหม้อไปมา

ผลที่ได้


           น้ำที่เป็นของเหลวกลับกลายเป็นน้ำแข็ง หรือหวานเย็น เพราะเกลือทำให้น้ำที่เป็นของเหลวเป็นน้ำแข็งได้

การนำไปประยุกต์ใช้
          นำของเล่นที่เพื่อนๆได้นำเสนอ ทำเป็นสื่อการสอนสอนเด็กปฐมวัยได้ 
          หวานเย็น  นำการจัดประสบการณ์การทำกิจกรรมไปสอนเด็กปฐมวัยได้ ในหน่วย น้ำ (การเปลี่ยนสถานะของน้ำ)
ประเมินตนเอง
          มีความรู้เพิ่มขึ้นจากของเล่น และการทำหวานเย็น หรือการเปลี่ยนสถานะของน้ำ (ของเหลวกลายเป็นของแข็ง)
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนสามารถบอกได้ว่าสื่อของตนเองจัดอยู่ในหมวดอะไร และการทำหวานเย็นเพื่อนๆ ตื่นเต้นที่ได้ทำการทดลอง และเห็นผลจริงตามที่หวังไว้
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์ช่วยแนะนำในการแยกหมวดหมู่ของสื่อ และถามนักศึกษาให้นักศึกษารู้ว่าสื่อของตนเองอยู่ในหมวดอะไร
          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำหวานเย็น อาจารย์คอยชี้แนะว่าต้องทำแบบไหน จนการทดลองหวานเย็นมีผลการทดลองเป็นไปตามที่หวังไว้ เสร็จการทดลองทุกคนทำความสะอาดช่วยกัน









บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


อาจารย์บอกวิธีการนำเสนอตามหัวข้อดังต่อไปนี้

วิจัย
-นิยาม
-การดำเนินการวิจัย
-สรุปการวิจัย

โทรทัศน์ครู
-วิธีสอน
-ส่งเสริมหรือแก้ไขอะไร
-ส่งเสริมด้วยวิธีใด
-ส่งเสริมมีขั้นตอนอย่างไร

นำเสนอโทรทัศน์ครู และวิจัย
โทรทัศน์ครู โดยนางสาวนิตยา ใยคง เรื่องกระบวนการสังเกตของเด็ก (ของเล่นของใช้)

นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง ดิน

การทำ Cooking (วาฟเฟิล)

อุปกรณ์


วิธีทำ


1. เทแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้
2. เทน้ำใส่แป้ง ใส่ไข่ ใส่เนย แล้วตีให้เข้ากัน
3. ตักใส่ถ้วยเล็ก แล้วนำไปเทใส่เครื่องทำขนมวาฟเฟิล  รอให้ขนมสุกได้ที่







ผลที่ได้



รับประทานได้ อร่อยมากเลยค่ะ^^


การนำไปประยุกต์ใช้
          นำวิธีการทำ Cooking ไปใช้ในการจัดประสบการณืให้กับเด็กปฐมวัย
ประเมินตนเอง
          เกิดทักษะการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ตื่นเต้นที่จะได้ทำ Cooking และพร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการทำอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์คอยชี้แนะในเรื่องการนำเสนอแผนให้เหมาะสมและถูกต้องกับเด็กปฐมวัย และชี้แนะการทำ Cooking ให้นักศึกษาได้ลงมือทำด้วยตนเอง




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 12
วันอังคาร ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


          กิจกรรมวันนี้  อาจารย์ให้คนที่ยังไม่อ่านบทความออกไปอ่านไปบทความ  และให้สรุปโทรทัศน์ครู และสรุปวิจัยเป็นรายบุคคล แล้วให้กลุ่มที่ยังไม่นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ได้นำเสนอ

1.หน่วยสับปะรด (ประโยชน์)


ขั้นนำ  ครูถามเด็กว่า "สับปะรดทำอะไรได้บ้าง"
ขั้นสอน  ครูหั่นสับปะรด แล้วนำแก้วนำแข็งที่เตรียมไว้ เทน้ำเชื่อมใส่
ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันประกอบอาหาร

2.หน่วยส้ม (ชนิด)


ขั้นนำ  ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงส้ม
ขั้นสอน  นับส้ม แยกส้มแมนดารินกับส้มที่ไม่ใช่แมนดาริน
ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันต่อจิ๊กซอรูปส้ม

3.หน่วยทุเรียน (ลักษณะ)


4.หน่วยมด (ลักษณะ)



5.หน่วยดิน (ชนิด)



6.หน่วยน้ำ (การทดลองสถานะของน้ำ)


น้ำเปลี่ยนรูปตามภาชนะ


น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ


น้ำระเหยเป็นไอ


7.หน่วยไข่ ออกมาทำ Cooking เพื่อให้เห็นถึงจากจัดประสบการณ์แบบเป็นฐาน ดังต่อไปนี้


ฐานที่ 1 ตัดกระดาษรองก้นถ้วย


ฐานที่ 2 หั่นต้นหอม ปูอัด แครอท


ฐานที่ 3 ตีไข่


ฐานที่ 4 นำไข่ที่เตรียมไว้ นำมาใส่ข้าว ต้นหอม ปูอัด แครอท และปรุงรสด้วยซอส


ฐานที่ 5 นำไข่ที่ใส่ส่วนผสมเครื่องมาใส่เครื่องทำทาริยากิ

***หมุนเวียนกันทำให้แต่ละฐานได้เปลียนกันทำทุกฐาน

การนำไปประยุกต์ใช้
          ในการสอนการทำ Cooking ในห้องเรียนที่เหมาะสมที่สุด ควรทำเหมือนกลุ่มหน่วยไข่ที่ได้ทำไปสอนเด็กปฐมวัยได้ดี
ประเมินตนเอง
          จากการทำ Cooking ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามแผนที่เหมาะสม และถูกต้องที่สุด
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนตื่นเต้นกับสิ่งที่จะได้ทำหรือกำลังได้ทำ และผลออกมาเป็นสิ่งเพื่อนๆรอคอย ถือได้ว่าทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอในขั้นตอนสุดท้ายกันเลยทีเดียว
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มมีส่วนร่วมในการทำ Cooking ในครั้งนี้ เพื่อเป็นความรู้และเป็นประสบการณ์ในกับนักศึกษาได้ติดตัวไปในภายภาคหน้าต่อไป













บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

          ทุกกลุ่มนำเสนอแผนของกลุ่มตนเอง แต่ทุกกลุ่มยังไม่มีความพร้อมสักเท่าไหร่ในการนำเสนอ แต่ยังมีกลุ่มเพื่อนออกไปนำเสนอแผนของกลุ่มตนเอง ได้แก่

1. กลุ่ม หน่วย ข้าว


ขั้นนำ  ครูให้เด็กนำภาพตัดต่อ ต่อกันเป็นรูปซูชิ
ขั้นสอน  ครูสอนวิธีทำซูชิด้วยข้าวเหนียว มีหน้าหมูอบ หมูปิ้ง หมูทอด
ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุปความชอบของซูชิแต่ละหน้า


2. กลุ่ม หน่วย ไข่
    ขั้นนำ  ครูและเด็กท่องคำคล้องจอง เรื่องไข่ พร้อมกัน
    ขั้นสอน  ครูและเด็กร่วมกันทำไข่เจียว
    ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุป ไข่สามารถทำอะไรได้บ้าง?

3. กลุ่ม หน่วย กล้วย
    ขั้นสอน ครูและเด็กร่วมกันทำกล้วยทอด

***กลุ่มที่เหลือนำเสนออาทิตย์หน้า

การนำไปประยุกต์ใช้
          นำกิจกรรมที่เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอ สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้
ประเมินตนเอง
          มีความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ และความรู้ ประสบการณ์จากอาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนมีความกระตือรือร้นในการนำเสนอ และการรับฟังเนื้อหาสาระที่เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอ แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์อยากให้แผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาอย่างถูกต้อง อาจารย์ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหา ชี้แนะแนวทางในการเขียนแผนจัดประสบการณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสม



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 10 
วันอังคาร ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557


กิจกรรมวันนี้

การทดลองที่ 1 เรื่อง อากาศ
อุปกรณ์
1. เทียน     2. ไม้ขีด     3. ถ้วย      4. แก้วน้ำ


ใช้คำถามในการทดลอง
1. ถ้าจุดไฟใส่เทียนจะเกิดอะไรขึ้น?
ตอบ เกิดไฟ
2. ถ้าแก้วคอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้น?
ตอบ ไฟดับ เพราะในแก้วไม่มีออกซิเจน
3. อะไรที่ทำให้ไฟดับ?
ตอบ ออกซิเจนหมดทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซต์มาแทนที่เลยทำให้ไฟดับ

**อากาศช่วยให้ คน สัตว์ พืช ใช้ดำรงชีพ
    คนและสัตว์ ใช้ออกซิเจนในการสร้างสมดุลให้กับร่างกาย ส่วนพืช ใช้อากาศคาร์บอนไดออกไซต์ในการหายใจ เพื่อนำไปสังเคราะห์แสง

การทดลองที่ 2 เรื่อง น้ำ
อุปกรณ์
1. กระดาษ A4      2. น้ำ


                       


          นำกระดาษ A4 นำมาตัดเป็น 1 ส่วน 4 นำมาพับครึ่งแล้วพับอีกรอบ ฉีกให้เป็นรูปดอกไม้ เมื่อฉีกเสร็จแล้วนำมาพับเป็นรูปสี่เหลี่ยม





           นำไปลอยน้ำ ผลที่ได้ ดอกไม้จะบานออก เพราะ น้ำซึมเข้าไปในกระดาษ เนื่องจากกระดาษมีช่องว่างให้น้ำซึมผ่านได้มาก กระดาษเลยซึมทีละน้อยๆ จนทำให้กระดาษบานออกเหมือนดอกได้ น้ำค่อยๆซึมเรื่อยๆจนทั่วกระดาษ
          **หน่วยที่สมารถใช้สอนได้ คือ หน่วยการดูดซึม การดูดซึมของพืช ของร่างกายมนุษย์ น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต สามารถนำพืชมาสอนในห้องเรียนได้ ด้วยวิธีการนำมาบีบให้เห็นน้ำ

การทดลองที่ 3 ขวดน้ำมหัศจรรย์
อุปกรณ์
1. ขวดน้ำรั่ว     2. ขวดน้ำเจาะใส่สายยาง     3. น้ำ

ผลที่ได้  **ขวดน้ำรั่ว เทน้ำใส่น้ำจะรั่วออก พอปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหลออก เพราะ มีแดงดันน้ำ
              **ขวดน้ำเจาะใส่สายยาง  เทน้ำใส่ขวด ถ้าตั้งขวดกับสายยางอยู่ในระดับเดียวกันน้ำจะไม่ไหล ถ้ายกขวดสูงขึ้นกว่าเดิม น้ำจะไหลออกแรง เพราะสมบัติของน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ย่งสูงมากแรงดันน้ำยิ่งมาก


การทดลองที่ 4 เรื่อง จม - ลอย
อุปกรณ์
1.  ดินน้ำมัน    2. ลูกแก้ว     3. น้ำ

ผลที่ได้  **ดินน้ำมันจม เพราะถ้ายิ่งทำดินน้ำมันให้แบนก็จะยิ่งจม
               **ดินน้ำมันลอย เพราะห่อดินน้ำมันไม่ให้น้ำสามารถเข้าได้ พอใส่ลูกแก้วดินน้ำมันก็จะไม่จม
อาจารย์สรุป  **ดินน้ำมันเป็นก้อนจะมีความหนาแน่นมาก เลยทำให้ดินน้ำมันจม ถ้าทำให้แบนแล้วยกขอบขึ้นดินน้ำมันก็จะไม่จม


การทดลองที่ 5 เรื่อง แสง
อุปกรณ์
1. แก้วน้ำมีน้ำ     2. ปากกา


ผลที่ได้  **จากการสังเกต พบว่า ปากกาดูแท่งใหญ่ขึ้น เป็นเพราะแสงช่วยในการขยายภาพ พอมองที่ขอบแก้ว จะเหมือนปากกามีสองส่วน เพราะการหักเหของแสง
              **หน่วยที่สามารถใช้สอนได้ คือ หน่วยการเกิดเงา  คุณสมบัติของแสง 7 สี  การหักเห  การสะท้อน


การนำไปประยุกต์ใช้
          นำการทดลองทั้ง 5 การทดลอง ไปสอนเด็กปฐมวัยได้และเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง
ประเมินตนเอง
          มีความรู้เพิ่มขึ้น มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นผลดีอย่างยิ่งในการนำไปใช้ในอนาคต
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆมีความกระตือรือร้นมาก ที่จะได้ทำการทดลอง ได้เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการทดลองทั้ง 5 การทดลอง อย่างตั้งใจจดจ่อ
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันทำการทดลอง อาจารย์ได้ใช้คำถามในการเรียนรู้ การทดลองต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ให้แก่นักศึกษาเป็นอย่างมาก



บันทึกอนุทิน 
ครั้งที่ 9
วันอังคาร ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

       
          นำเสนอของเล่นของเพื่อนต่อจากอาทิตย์ที่ผ่านมา เมื่อเพื่อนนำเสนอครบทุกคน อาจารย์สอนเรื่องแผนการจัดประสบการณ์


แผน เรื่อง น้ำ Water



โดยจัดตามหน่วย
1. หน่วย ประเภทของน้ำ
2. หน่วย แหล่งที่อยู่ของน้ำ
3. หน่วย คุณสมบัติของน้ำ
4. หน่วย วัฏจักรของน้ำ
5. หน่วย ประโยชน์

การนำมาประยุกต์ใช้
          จัดกิจกรรม เกี่ยวกับน้ำ นำเนื้อหามาประยุกต์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ในหน่วยต่างๆ เกี่ยวกับน้ำได้
ประเมินตนเอง
          เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำ และวิธีการเขียนแผนจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับการสอนในเรื่องน้ำ ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนทุกกลุ่มช่วยกันระดมความคิด เพื่อจะประยุกต์ ดัดแปลงการเขียนแผนให้เหมาะสมและถูกวิธี
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนรายละเอียดเกี่ยวกับแผน ชี้แนะการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ทุกกลุ่มแม่นในการเขียนแผนของกลุ่มตนเอง และมีความเหมาะสมกับการนำไปสอนเด็กปฐมวัย





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8
วันอังคาร ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557


วันนี้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อของเล่น ร่มชูชีพ (parachute) 


อุปกรณ์
1. เชือก rope
2. ถุงพลาสติก plastic bags
3. ขวดน้ำ water Bottles (ตัดเอาแค่ปากขวด) 

วิธีทำ
1. ตัดขวดน้ำเอาแค่ปากขวด
2. ตัดเชือก 4 เส้นให้เท่าๆกัน
3. ตัดถุงพลาสติกให้เป็นสี่เหลี่ยม หรือตัดรูปแบบอื่นก็ได้
4. นำขวดน้ำที่เตรียมไว้ เจาะรูให้เป็น 4 มุม แล้วนำเชือกที่เตรียมไว้ผูกกับขวดที่เจาะรู แล้วนำไปผูกเข้ากับถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ ให้เป็น 4 มุม เสร็จการทำของเล่น นำมาโยนเล่นได้ แล้วสังเกตการลงของร่มชูชีพ

ของเล่นของเพื่อน

                  

    ชื่อ กีต้าสามสาย                                ชื่อ วงล้อหลากสี                                ชื่อ รถจากหลอดด้าย



                              ชื่อ ไหมพรมเต้นระบำ                    ชื่อ โทรศัพท์จากแก้ว      




      ชื่อ ตุ๊กตาโยกเยก                                                                                    ชื่่อ ลูกโป่งลอยฟ้า


การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำเทคนิคที่เพื่อนๆ ทำของเล่น ไปทำเป็นสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ของเล่นทุกชิ้นล้วนแต่มีประโบชน์ทั้งสิ้น เราสามารถจดจำวิธีทำไปใช้สำหรับการเรียนการสอนของเราได้
ประเมินตนเอง
          ได้รับประสบการณ์จากการทำของเล่น ของตนเอง ของเพื่อนๆ และเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในของเล่นทุกชิ้นที่เพื่อนนำมานำเสนอ จากที่เพื่อนนำเสนอ และจากอาจารย์เพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆ ได้ตั้งใจทำของเล่นของตนเอง ออกมาสวยงาม เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย และบอกเรื่องราวของของเล่นเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์ได้เพิ่มเติมเนื้อหาวิทยาศาสตร์จากของเล่นทุกชิ้นที่นำเสนอ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และมีความถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ระดมความคิดจากการนำเสนอของเล่นของเพื่อนแต่ละคน

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557

ลมคืออะไร?
   ลม(Wind)  คือ อากาศที่เคลื่อนที่


กังหัน Turbine

สามารถสังเกตุเห็นดังนี้
แถวที่1และแถวที่2 ตัดกระดาษผ่าครึ่งลงไปครึงของครึ่งกระดาษ สังเกตุเห็นได้ว่าเมื่อทดลองโยน กังหันตกถึงพื้นเร็ว เพราะ 1.การตัดกระดาษ 2.แรงที่โยน 3.วิธีการโยน 
แถวที่3 ตัดกระดาษลงมาถึงครึ่งกระดาษ สังเกตุเห็นได้ว่าเมื่อทดลองโยน กังหันตกถึงพื้นช้าลง เพราะ 1.การตัดกระดาษ 2.แรงที่ใช้โยน 3.วิธีการโยน
แถวที่4 ตัดกระดาษตามใจชอบ สังเกตุเห็นได้ว่าเมื่อทดลองโยน มีรูปแบบการตัดกระดาษที่แตกต่าง การลงของกังหันก็เลยแตกต่างกัน เพราะ 1.กาตัดกระดาษ 2.แรงที่โยน 3. วิธีการโยน
สรุปจากกิจกรรม
   ถ้าตัดกระดาษที่แตกต่าง ก็จะเกิดรูปแบบที่แตกต่างกัน กังหันลงพื้นช้า เพราะอากาศต้านปีกของกังหัน



คิดวิธีการเล่น
     นำสิ่งประดิษฐ์ตัวนี้ มาห้อยคอแล้วดึงเชือกจากข้างล่างขึ้นมาเรื่อยๆ โดยให้เชือกข้างล่างขยายขนาดออกเรื่อยๆ สิ่งประดิษฐ์ก็จะเลื่อนขึ้น แต่ถ้าจะลงละ ก็ต้องค่อยๆหุบเชือกเข้า แล้วชักซ้ายขวา สามารถเปรียบกับหนึ่งสิ่งได้ที่เราเห็นมาแต่เด็กเหมือนกับเราชักเสาธงนั่นเอง

บทความ
1.สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์
  ขั้นตอนการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   1.การมีส่วนร่วม Participation
   2.สำรวจ Survey ให้เด็กค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
   3.อธิบาย Description  ให้วิเคราะห์ สำรวจ ตรวจสอบจากขั้นที่2 ให้เด็กอธิบายตามความเข้าใจของตนเอง
   4.รายละเอียด Details ขยายความรู้ในสิ่งที่เรียนรู้
   5.ประเมิน Assessment  ตรวจสอบสิ่งที่เรียนรู้
2.สนุกสนานจากการเรียนรู้จากทุกวิชา จากไก่และเป็ด ของเด็กปฐมวัย บูรณาการวิทย์-คณิตศาสตร์
   1.ขั้นนำ ทำท่าไก่ ร้องเพลง ฟังนิทาน
   2.ขั้นสอน ตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ เป็ด และ ไก่ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
   3.ขั้นสรุป ให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง หรือสรุปคำตอบนั้นด้วยตนเอง
3.เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
   ส่งเสริมให้เด็กผึกการสังเกตุ ค้นหาข้อมูล และหาคำตอบด้วยตนอง 
   การปลูกฝังให้เด็กมีความสนุกสนานกับวิทยาศาสตร์ ควรสร้างให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และให้เด็กลงมือกระทำ และสังเกตุสิ่งที่ทำ ค้าหาข้อมูล และหาคำตอบด้วยตนเอง ควรจัดให้บูรณษการเข้ากับวิชาอื่นๆ พาเด็กออกไปเปลี่บยบรรยากาศให้พบกับวิทยาศาสตร์จริงๆ เช่น ออกไปดูต้นไม้ ต้นหญ้า ดอกไม้ และอื่นๆอีกมากมายนอกห้องเรียน ไปพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หรือจะให้เด็กทำสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆด้วยตนเองก็ได้
4.หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
5.ส่งเสริมกระบวนการคิดวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
    จากบทความสามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมในห้องเรียนได้จริง และยึดหลักหรือขั้นตอนต่างๆที่เพื่อนนำเสนอก็ได้
ประเมินตนเอง
    พัณนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากกว่านี้
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนในห้องเรียนมีความตื่นตัวในการเรียนตลอดเวลาเพราะอาจารย์สอนโดยการใช้คำถามตลอดเวลา เพื่อนๆสามารถระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์จนสามารถตอบอาจารย์ได้ถูกต้องที่สุด
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ใช้ความถามในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ระดมความคิดในการตอบคำถามได้คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
เทคนิคการสอน 
    1.การใช้คำถามเพื่อระดมความคิด
    2.บทความ พูด อธิบาย วิเคราะห์บทความ











บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่ 23 กันยายา พ.ศ.2557




เนื้อหาที่เรียน
-การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียกว่า วิธีจัดการเรียนรู้
-พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็ก
-การแสดงพัฒนาการ คือ คุณลักษณะ
-ภาพรวมของเด็ก คือ ธรรมชาติของเด็ก
-เครื่องมือของการรวบรวมข้อมูล คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5
-เด็กต้องลงมือกระทำ เด็กถึงจะเกิดการเรียนรู้

6 กิจกรรม


กิจกรรมที่ทำในห้อง





บทความ
1.สอนลูกเรื่องพืช
  -ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
     เลียนแบบการเคลื่อนไหวของต้นไม้
  -ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
     ลดความตึงเครียด สนุกสนาน
  -ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
     ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน และสามารถทำได้ด้วยตนเอง
  -ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
     คณิตศาสตร์ เด็กได้นับจำนวนของต้นไม้ จำแนกประเภทของต้นไม้ แยกขนาด รูปร่างต้นไม้ได้
     วิทยาศาสตร์ เด็กได้สังเกตุ การจัด ว่าต้นไม้ต้องวางในที่มีแสงต้นไม้ถึงจะเจริญเติบโต
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
  เรียนรู้จากการเชื่อมโยงจากนิทานสู่วิทยาศาสตร์ ในเรื่องของภาษา คำพูด เสียง เรื่องราวสิ่งรอบตัว โดยการเล่านิทานให้สนุกสนานน่าสนใจ
3.แนวทางสอนคิดวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย 
  แนวทางการสอนเพื่อให้เด็กสนใจ ครูควรเลือกเรื่องการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนให้เด็กสนใจ วิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการเรียนรู้ ,การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ การเรียนรู้สิ่งรอบตัว โดยให้เด็กตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งรอบๆตัวเด็ก
  แนวปฏิบัติในการสืบเสาะหาความรู้ของเด็ก
    1.ตั้งคำถามให้เด็กเกิดกระบวนการคิด
    2.การหาคำตอบ
    3.หาความรู้เพิ่มเติม
    4.นำเสนอ อภิปราย
    5.นำสิ่งที่นำเสนอไปเชื่อมโยงกับหลักการวิทยาศาสตร์
4.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆของเด็ก
  เด็กเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา โดยการสังเกตุ จำแนก สื่อความหมาย การวัด การทดลอง โดยผ่านการทำกิจกรรมการทำรุ้งกินน้ำ ครูจัดกิจกรรมให้เด็กด้วยการหาสีรุ้ง รูปรุ้ง แล้วให้เด็กผสมสีเพื่อให้เกิดเป็นสีรุ้ง และให้เด็กทำตามกระบวนการของวิทยาศาสตร์


การนำไปประยุกต์ใช้
    จากบทความสามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมในห้องเรียนได้จริง
ประเมินตนเอง
    พัฒนาตนเองเพื่อให้มีความรู้และสามารถผู้อื่นถามมาเราสามารถตอบได้
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนในห้องเรียนมีความตื่นตัวในการเรียนตลอดเวลาเพราะอาจารย์สอนโดยการใช้คำถามตลอดเวลา เพื่อนๆสามารถระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์จนสามารถตอบอาจารย์ได้ถูกต้องตามที่สุด
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ใช้ความถามในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ระดมความคิดในการตอบคำถามได้คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
เทคนิคการสอน
     1.ใช้คำถาม เพื่อระดมความคิด
     2.บทความ พูด อธิบาย วิเคราะห์บทความ