สรุปวิจัย โทรทัศน์ครู และบทความ
สรุปวิจัย
วิจัย : เรื่อง ผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง
ผู้เขียนวิจัย : อ.สารภี ชมพูคำ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตัวแปร
ตัวแปรต้น : พัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง แผนการจัดประสบการณ์
ตัวแปรตาม : การพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
นิยาม
ทักษะพื้นฐาน
1. ทักษะการสังเกต คือ ความสามารถในการบอกความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จากการใช้ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ หรือเหตุการณ์
2.ทักษะการวัด คือ การใช้เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ เป็นหน่วยวัดที่มีหรือไม่มีมาตรฐาน ซึ่งอาจไม่มีหน่วยกำกับก็ได้ เช่น นิ้ว คืบ ศอก
3. ทักษะการจำแนก คือ ความสามารถในการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งของที่อยู่โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะ ผิว ส่วนสิ่งมีชีวิตใช้เกณฑ์อาหาร ลักษณะที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์
วิธีดำเนินการวิจัย
แผนการจัดประสบการณ์ พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์พื้นฐานและสอดคล้องการทำงานของสมอง
หน่วย : เสียงรอบตัว
1.เรื่อง : เสียงอะไรเอ่ย
จุดประสงค์
1.เด็กบอกเสียงที่ได้ยินได้ถูกต้อง
2. บอกเสียงจากการกระทำของมนุษย์ได้ (ทักษะการสังเกต)
3.จำแนกเสียงที่เกิดจากวัตถุต่างกันได้ถูกต้อง (ทักษะการจำแนก)
2.เรื่อง : เสียงที่แตกต่าง
จุดประสงค์
1.เด็กบอกความแตกต่างของเสียงเมื่อผ่านตัวกลางได้
2.เด็กแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
(ทักษะการสังเกต)
3.เรื่อง : เสียงจากธรรมชาติ
จุดประสงค์
1.เด็กจับคู่เสียงเขย่าขวดได้
2.เด็กสนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
(ทักษะการจำแนก)
4.เรื่อง : เสียงไพเราะ
จุดประสงค์
1.เด็กบอกเสียงที่เกิดจากวัตถุต่างกันได้
2.เด็กสนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
(ทักษะการจำแนก)
5.เรื่อง : ข้อควรระวังจากเสียง
จุดประสงค์
1.เด็กบอกความแตกต่างจากเสียงเครื่องดนตรีได้
2.เด็กแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นได้
(ทักษะการสังเกต)
การทำงานของสมอง
ข้อที่ 1 การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ข้อที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ในแบบแผนการเรียนรู้
ข้อที่ 3 เรียนรู้พร้อมกัน ทุกระบบ แบบองค์รวม
สรุปผลการวิจัย
แผนการจัดประสบการณ์ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 แนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
สรุปโททัศน์ครู
โทรทัศน์ครู เรื่องไข่ดีมีประโยชน์
เรียนรู้ชนิดของไข่ ส่วนประกอบของไข่ และประโยชน์ของไข่
ขั้นนำ ครูให้นักเรียนเล่นเกมการส่งไข่ แล้วครูเล่านิทานเรื่อง "ไข่ของใคร" ครูเล่านิทานโดยให้เด็กทายว่าไข่ของใคร? ครูนำรูปภาพสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ให้เด็กดู
ขั้นสอน ครูให้เด็กทายว่าไข่ที่ครูเตรียมมามีไข่อะไรบ้าง? แล้วให้เด็กบอกสีของไข่แต่ละชนิด ไข่ที่ครูเตรียมมามี ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่เยี่ยวม้า และไข่เค็ม โดยครูใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ให้เด็กดูว่าไข่แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร? มีอะไรบ้างที่เหมือนและแตกต่างกัน ครูใช้คำถามกับเด็กดังนี้
-ไข่ในตระกร้าของคุณครูมีไข่หลายขนาด ไข่หลายสี ไข่หลายไซต์ ไข่หลายชนิด มาช่วยคุณครูแยกไข่ได้ไหม
ครูมีตระกร้า 5 ใบ สีไม่เหมือนกัน ไข่นกกระทาครูใส่ตระกร้าสีแดง ไข่เป็ดครูใส่ตระกร้าสีเขียว ไข่ไก่ครูใส่ตระกร้าสีน้ำเงิน ไข่เค็มครูใส่ตระกร้าสีชมพู ไข่เยี่ยวม้าครูใส่ตระกร้าสีฟ้า
ครูให้เด็กออกมาแยกไข่แต่ละชนิดใส่ตระกร้า นอกจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วยังสามารถบูรณาการเข้ากับทักษะทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย โดยเด็กได้เรียนรูเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข โดยเด็กได้นับ เปรียบเทียบมาก-น้อย เท่ากันหรือไม่เท่ากัน
ครูให้เด็กนับจำนวนของไข่แต่ละชนิดในตระกร้า ว่ามีกี่ฟอง และไข่ชนิดไหนมีจำนวนเท่ากัน ไข่ที่มีจำนวนเท่ากันคือ ไข่เค็มและไข่เยี่ยวม้า มี 4 ฟองเท่ากัน
ต่อมาครูสอนเรื่องส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไร ว่าไข่แต่ละชนิดมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เช่น ไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีสีน้ำตาลดำ ไข่เค็มเนื้อของไข่เค็มจะมีสีขาว เด็กจะได้ฝึกการสังเกตว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้ามีความแตกต่างกันอย่างไร เป็นสีอะไร
-ครูถามเด็กว่า เด็กๆอยากเห็นไหมว่าข้างในของไข่เป็นยังไง ครูผ่าไข่ให้เด็กดู แล้วบอกว่าไข่มีส่วนประกอบอะไรบ้าง แล้วครูให้เด็กชิมไข่เค็ม แล้วถามเด็กว่า มีรสชาติอย่างไร?
ไข่เป็ดกับไข่ไก่มองผิวเผินจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ครูต้องพยายามชี้แนะให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างรหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่ ครูควรมีคำถามถามเด็กว่า ไข่แดงของไข่เป็ดกับไข่ไก่ เป็นยังไง มีสีที่เหมือนกันไหมหรือแตกต่างกันอย่างไร
ครูกับเด็กร่วมกันทำ Cooking ไข่หวาน ครูควรสอดแทรกสิ่งที่ควรระวังในการประกอบอาหารให้แก่เด็ก
ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันบอกประโยชน์ในการรับประทานไข่แล้วร่างกายแข็งแรง
สรุปบทความ
บทความ เรื่องดินมหัศจรรย์ ชั้นเรียนวิทย์บูรณาการของเด็กน้อยเชียงใหม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ส่งเสริมให้ชั้นเรียนอนุบาลหนึ่งมีการบูรณาการการเรียนรู้ ตามแนวทาง “สะเต็มศึกษา” (STEM Education : Science Technology Engineering and Mathematics Education) ซึ่งเด็กวัยอนุบาลเรียนรู้กันได้ง่ายๆ
วันนี้จะพาไปเยี่ยมโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ชั้นเรียนอนุบาล 2 ของครูฐิติรัตน์ นาคทรัพย์ ซึ่งได้พาเด็กๆ วัยซนเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ดินมหัศจรรย์ ซึ่งเด็ก ๆ ส่วนใหญ่ลงความเห็นกันว่าสนใจเรียนรู้ คือ เรื่อง “เครื่องปั้นดินเผา”
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ สัปดาห์แรก ครูตั้งคำถามต่อไปว่า “ก่อนจะมาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้นั้น ต้องมีสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ และเครื่องปั้นดินเผาทำมาจากอะไร” นั่นถือเป็นที่มาถึงเรื่องที่เด็ก ๆ ต้องการจะศึกษาสนใจที่จะเรียนรู้ คือ เรื่อง “ดินมหัศจรรย์” โดยเด็ก ๆ ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง “ดิน” หลากหลายคำถาม
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ ครูเปิดวิดีโอเพลง “ของขวัญจากก้อนดิน” ครูนำดินใส่โหลสีใสมาให้เด็ก ๆ ได้ดูอย่างใกล้ชิดพร้อมร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับดิน และเด็กๆ หาความรู้เพิ่มเติมหลากหลายวิธี ได้แก่
สืบค้นด้วยตนเองโดยใช้แว่นขยายส่องโหลสีใสที่ใส่ดินไว้ข้างใน กิจกรรมกลุ่มให้เด็ก ๆ วาดรูปสิ่งต่าง ๆ ที่พบเจอในโหลสีใสให้ชัดเจนและร่วมแบ่งปันภาพวาดนั้นให้กับเพื่อน ๆ ได้พร้อมนำเสนอในห้องทีละกลุ่ม สอบถามผู้รู้ คือ คุณครูในห้องเรียนถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พบเจอในโหลสีใส โดยการตั้งคำถาม เด็กและครูทบทวนความหมายของดินและการเกิดดินที่ได้เรียนไปเมื่อวานผ่านชาร์ตการเกิดดินร่วมกัน
ครูเปิดคลิปวิดีโอ เรื่อง “ชนิดและสมบัติของดิน” จากอินเทอร์เน็ต นำดิน 3 ประเภท (ดินทราย ดินร่วน ดินเหนียว) ใส่กระบะทั้ง 3 กระบะมาให้เด็ก ๆ ได้สังเกตและสัมผัส เด็ก ๆ ร่วมกันสำรวจและแสดงความคิดเห็น สังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างของดินแต่ละกระบะ ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับดิน กว่าจะมาเป็นดิน มีส่วนประกอบของอะไรบ้าง ดินมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร เมื่อสัมผัสแล้วเป็นอย่างไร
สัปดาห์ที่สอง วันจันทร์ ครูให้เด็ก ๆ ดูชาร์ตส่วนประกอบของดินและสนทนาร่วมกันถึงกระบวนการสร้างดิน ถามถึงวิธีการที่จะเรียนรู้เรื่องของดินต่อไปกับเด็ก ๆ ว่า “อยากรู้ว่าทำไมดินถึงใช้ได้และทำไมต้นไม้ต้องเกิดขึ้นในดิน ? ”เด็กและครูร่วมกันสืบค้นวิธีการหาคำตอบ
ครูพาเด็ก ๆ ไปสำรวจดินนอกห้องเรียนบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน มีคุณครูนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คุณครูซี และคุณลุงภารโรง ชื่อ ลุงศักดิ์ ให้ความรู้แก่เด็กๆ เมื่อกลับมาถึงห้องเรียน ครูถามถึงวิธีการที่จะเรียนรู้เรื่องของดินต่อไป
ครูเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “ดินและส่วนประกอบของดิน” จากอินเทอร์เน็ต แล้วร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากสิ่งที่สงสัย
วันอังคาร ครูเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “รักษ์ป่า” ให้เด็ก ๆ ได้ดูและร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็น (ดิน-น้ำ-อากาศ) เด็กและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวิดีโอที่ได้ดูไปเมื่อเช้านี้ ครูถามถึงวิธีการที่จะเรียนรู้เรื่องประโยชน์ของดินต่อไป
สืบค้นทางอินเตอร์เน็ตออนไลน์ร่วมกัน ครูเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “ประโยชน์ของดิน” เมื่อดูเสร็จแล้วครูและเด็ก ๆ ร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากสิ่งที่สงสัย
ครูแนะนำแบบสอบถามโครงงานดินมหัศจรรย์ที่จะให้เด็ก ๆ นำกลับไปถามคุณพ่อคุณแม่และผู้รู้เพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ และแหล่งข้อมูลที่หลากหลายแล้วนำกลับมาเล่าประสบการณ์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันต่อไป
วันพุธ ครูทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปเมื่อวานเกี่ยวกับประโยชน์ของดิน นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาสนทนากัน เด็ก ๆ ร่วมกันวาดภาพประโยชน์ของดินลงในชาร์ตในแต่ละกลุ่ม และออกมานำเสนอหน้าห้อง ครูนำตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาของจริงมาให้เด็กได้สังเกตและสัมผัส ถึงความแตกต่าง รูปร่าง ลักษณะ สี ขนาด โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีความหลากหลาย
เด็ก ๆ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ของเรื่องราว “ดินมหัศจรรย์” และเชื่อมโยงไปยังจุดแรกเริ่ม คือ เครื่องปั้นดินเผา ที่เด็ก ๆ สนใจ และร่วมกันตอบคำถาม
ครูเลือกเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “เครื่องปั้นดินเผา” ให้เด็ก ๆ ได้ดูและสนทนาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เด็ก ๆ เลือกปั้นดินน้ำมันและดินเหนียวที่มีในห้องตามจินตนาการ
วันพฤหัสบดี ครูและเด็ก ๆ ร่วมกันร้องเพลง “โลกให้ชีวิต” พร้อมทำท่าทางประกอบตามจังหวะเพลง ครูเปิดคลิปวิดีโอ นิทานเรื่อง “โลก” [The Earth] (ดิน-น้ำ-อากาศ) ให้เด็ก ๆ ได้ดู หลังจากนั้นร่วมกันสนทนาและแสดงความคิดเห็น
ครูสวมบทบาทเป็นนักวิทยาศาสตร์ผ่าแอปเปิลลูกโตเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ดูส่วนประกอบต่าง ๆ ของโลกว่ามีดินกี่ส่วน น้ำกี่ส่วนและแต่ละส่วนมีความสำคัญเพียงใด ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามที่ได้ตั้งไว้ว่า ทำไมดินถึงมีประโยชน์กับโลกอย่างนี้ ? โลกเกิดมาจากไหน ? ตามเนื้อหาที่ได้เคยเรียนรู้มาโดยเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ เด็ก ๆ ได้ดูชาร์ตโลกกับดิน และร่วมกันแสดงความคิดเห็น
เด็ก ๆ สืบค้นเรื่องราวของ “ดินมหัศจรรย์” ในห้องสมุดตัวตนเองตามความสนใจแล้วนำมาเล่าให้เพื่อน ๆ และครูฟัง ครูเปิดคลิปวิดีโอ นิทานเรื่อง “โลก” [The Earth] (ดิน-น้ำ-อากาศ) ให้เด็ก ๆ ได้ดู หลังจากนั้นร่วมกันสนทนาและแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ วันศุกร์ ครูทบทวนความรู้ของเด็ก ๆ จากที่เคยได้ร่วมกันสำรวจ สืบค้นและเสาะหามาด้วยวิธีการต่าง ๆ นำชาร์ตคำถาม ที่เด็ก ๆ ร่วมกันตั้งคำถามในตอนแรกมาให้เด็ก ๆ ตอบคำถามนั้น ๆ ด้วยตนเอง พร้อมกับดูสาระนิทัศน์ต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ได้ทำร่วมกันตลอดการศึกษาเรียนรู้โครงงานประกอบ
ทบทวนความรู้ของเด็ก ๆ จากที่เคยได้ร่วมกันสำรวจ สืบค้นและเสาะหามาด้วยวิธีการต่าง ๆ พร้อมกับดูสาระนิทัศน์ต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ได้ทำร่วมกันตลอดการศึกษาเรียนรู้โครงงานประกอบ พร้อมทั้งมีวิทยากรเพิ่มเติม คือ “ครูเต่า” จากศูนย์ศิลปหัตถกรรมล้านนา วิทยากรและเด็ก ๆ ร่วมกันเรียนรู้และปั้นดินเหนียวตามจินตนาการโดยเด็ก ๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านลงมือทำด้วยตนเอง และได้เรียนรู้คณิตศาสตร์จากสายสร้อยอนุกรมจากดินเหนียว
เด็ก ๆ และครูตกลงกันที่จะจัดนิทรรศการ “ดินมหัศจรรย์” ขึ้น ภายในห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/6 โดยแบ่งเป็นมุมการเรียนรู้ต่างๆ
สสวท. เน้นย้ำว่า การจัดกิจกรรมบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์ในขณะที่ให้เด็กทำกิจกรรม เพียงแต่ครูควรตระหนักว่ากิจกรรมที่จัดนั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้เด็ก และควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น