วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3
วันอังคาร ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557



บทความ
1. วิทยาศาสตร์และการทดลอง
2. ภาระกิจตามหาใบไม้ 
3. เรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ 
4. วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
5. การเป่าลูกโป่ง 

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย3-5ปี 
- พอใจคนที่ตามใจ
- มีช่วงความสนใจสั้น(5-10นาที)
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
- ชอบที่จะทำใก้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม
- ช่วยตนเองได้
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
- พูดประโยคยาวสั้น


นักการศึกษา/หลักการแนวคิด
1.เพียเจต์ Piaget ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 

2. จอห์น ดิวอี้ John Dewey เป็นผู้นำนักปราชญ์ผู้นี้มีความเชื่อว่าความอยู่รอดของสรรพสัตว์ (ซึ่งหมายถึงมนุษย์ด้วยนั้น) ย่อมขึ้นอยู่กับการปรับตัวของสิ่งนั้นๆ ความเชื่อนี้ได้มาจากชาร์ลส์ ดาวิน (Charles Darwin) เจ้าของทฤษฏีวิวัฒนาการซึ่งให้หลักไว้ว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่รอด (The Survival of the Fittest) ส่วนผู้ที่ไม่เหมาะสม ย่อมจะล้มหายตายจากไป จากความเป็นจริงข้อนี้ จอห์น ดิวอี้ จึงได้ยึดเอาเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นสรณะสำคัญ หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา จากแนวคิดเรื่องการปรับตัวนี้เอง จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) จึงเห็นค่ามนุษย์ย่อมมีปัญหาอยู่ตลอด ปัญหานั้นก็คือ การเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เป็นอยู่ทุกขณะนั่นเอง เมื่อมนุษย์ต้องพบปัญหาอยู่ตลอด การฝึกมนุษย์ให้แก้ปัญหาได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยให้ขจัดปัญหาที่มาขัดขวางการดำเนินชีวิตได้ และชีวิตนั้นก็จะอยู่รอดตลอดไป 

3.สกินเนอร์ Skinner กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น

4.เปสตาลอสซี่ Pestalzzi เชื่อว่าการศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้นความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก อย่างเป็นองค์รวม เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ มีแนวคิดจากรุสโซตรงที่มุ่งเน้นการสอนเด็กเป็นกลุ่มมากกว่าการสอนเด็กเป็นรายบุคคล  นอกจากนั้น เปสตาลอซซี่ยังเป็นต้นความคิดในเรื่องการเตรียมความพร้อม และเห็นว่าเด็กไม่ควร ถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องให้เวลาแล้วประสบการณ์แก่เด็กในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตนเอง เปสตาลอสซี่ได้เขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อเน้นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ และลูก เช่น “เกอร์ทรูดสอนลูกอย่างไร” (How Gertrude Teaches Her Children) และ “หนังสือสำหรับแม่” (Books for Mothers) และได้ออกแบบหลักสูตรชื่อ“ปาปา”(Papa) สำหรับลูกของตน ซึ่งจะให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก

5.เฟอร์เบล Froeble กล่าวว่าสิทธิของเด็กเล็ก คือ ความเป็นอิสระในการแสดงออกตามธรรมชาติ ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะไม่ใช่ผู้ออกคำสั่ง เฟรอเบลเป็นคนแรกที่กล่าวว่าการเล่นและเกมส์ต่าง ๆ เป็นเสมือนการเรียนจากประสบการณ์ หลักการของเฟรอเบล เด็กจะได้รู้จักความจริง ความยุติธรรม ความรับผิดชอบและความรู้จักคิดทำอะไรได้ด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ มิใช่ทำทุกอย่างตามที่ครูบอก ทำให้เด็กสามารถค้นหาเอกัตภาพของตนเองได้  

6.กีเซลล์ Gesell อธิบายถึงพัฒนาการทางกายที่มีรูปแบบที่แน่นอนและเป็นไปตามลำดับขั้น สภาพแวดล้อมมีส่วนช่วยส่งเสริมและต่อเติมพัฒนาการของเด็ก กีเซลล์ เน้นถึงการเติบโตและลักษณะของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ถึงแม้แบบแผนและขั้นตอนพัฒนาการจะเหมือนกัน พัฒนาการของเด็กเป็นกระบวนการที่ประสานสัมพันธ์กันทุกด้านทั้งร่างกาย จิตใจ ดังนั้นการพัฒนาเด็กจึงต้องพัฒนาไปพร้อมๆกันทุกด้าน ทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายของกีเซลมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อมและการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน


การนำไปประยุกต์ใช้
   นำทฤษฎีของนักนักทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎี มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้
ประเมินตนเอง
   ต้องศึกษาเนื้อหาการเรียนเพิ่มเติม เพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้รู้มาก สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริง ในการจัดกิจกรรมต่างๆทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน
 ตื่นตัวกับการเรียนในห้องเรียน ระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์
ประเมินอาจารย์
 ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด และเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดมาตอบ
เทคนิคการสอน
 1.ใช้คำถาม เพื่อระดมความคิด
 2.บทความ พูด อธิบาย วิเคราะห์บทความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น