วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557

ลมคืออะไร?
   ลม(Wind)  คือ อากาศที่เคลื่อนที่


กังหัน Turbine

สามารถสังเกตุเห็นดังนี้
แถวที่1และแถวที่2 ตัดกระดาษผ่าครึ่งลงไปครึงของครึ่งกระดาษ สังเกตุเห็นได้ว่าเมื่อทดลองโยน กังหันตกถึงพื้นเร็ว เพราะ 1.การตัดกระดาษ 2.แรงที่โยน 3.วิธีการโยน 
แถวที่3 ตัดกระดาษลงมาถึงครึ่งกระดาษ สังเกตุเห็นได้ว่าเมื่อทดลองโยน กังหันตกถึงพื้นช้าลง เพราะ 1.การตัดกระดาษ 2.แรงที่ใช้โยน 3.วิธีการโยน
แถวที่4 ตัดกระดาษตามใจชอบ สังเกตุเห็นได้ว่าเมื่อทดลองโยน มีรูปแบบการตัดกระดาษที่แตกต่าง การลงของกังหันก็เลยแตกต่างกัน เพราะ 1.กาตัดกระดาษ 2.แรงที่โยน 3. วิธีการโยน
สรุปจากกิจกรรม
   ถ้าตัดกระดาษที่แตกต่าง ก็จะเกิดรูปแบบที่แตกต่างกัน กังหันลงพื้นช้า เพราะอากาศต้านปีกของกังหัน



คิดวิธีการเล่น
     นำสิ่งประดิษฐ์ตัวนี้ มาห้อยคอแล้วดึงเชือกจากข้างล่างขึ้นมาเรื่อยๆ โดยให้เชือกข้างล่างขยายขนาดออกเรื่อยๆ สิ่งประดิษฐ์ก็จะเลื่อนขึ้น แต่ถ้าจะลงละ ก็ต้องค่อยๆหุบเชือกเข้า แล้วชักซ้ายขวา สามารถเปรียบกับหนึ่งสิ่งได้ที่เราเห็นมาแต่เด็กเหมือนกับเราชักเสาธงนั่นเอง

บทความ
1.สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์
  ขั้นตอนการคิดแบบวิทยาศาสตร์
   1.การมีส่วนร่วม Participation
   2.สำรวจ Survey ให้เด็กค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
   3.อธิบาย Description  ให้วิเคราะห์ สำรวจ ตรวจสอบจากขั้นที่2 ให้เด็กอธิบายตามความเข้าใจของตนเอง
   4.รายละเอียด Details ขยายความรู้ในสิ่งที่เรียนรู้
   5.ประเมิน Assessment  ตรวจสอบสิ่งที่เรียนรู้
2.สนุกสนานจากการเรียนรู้จากทุกวิชา จากไก่และเป็ด ของเด็กปฐมวัย บูรณาการวิทย์-คณิตศาสตร์
   1.ขั้นนำ ทำท่าไก่ ร้องเพลง ฟังนิทาน
   2.ขั้นสอน ตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ เป็ด และ ไก่ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
   3.ขั้นสรุป ให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง หรือสรุปคำตอบนั้นด้วยตนเอง
3.เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
   ส่งเสริมให้เด็กผึกการสังเกตุ ค้นหาข้อมูล และหาคำตอบด้วยตนอง 
   การปลูกฝังให้เด็กมีความสนุกสนานกับวิทยาศาสตร์ ควรสร้างให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และให้เด็กลงมือกระทำ และสังเกตุสิ่งที่ทำ ค้าหาข้อมูล และหาคำตอบด้วยตนเอง ควรจัดให้บูรณษการเข้ากับวิชาอื่นๆ พาเด็กออกไปเปลี่บยบรรยากาศให้พบกับวิทยาศาสตร์จริงๆ เช่น ออกไปดูต้นไม้ ต้นหญ้า ดอกไม้ และอื่นๆอีกมากมายนอกห้องเรียน ไปพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หรือจะให้เด็กทำสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆด้วยตนเองก็ได้
4.หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
5.ส่งเสริมกระบวนการคิดวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
    จากบทความสามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมในห้องเรียนได้จริง และยึดหลักหรือขั้นตอนต่างๆที่เพื่อนนำเสนอก็ได้
ประเมินตนเอง
    พัณนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากกว่านี้
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนในห้องเรียนมีความตื่นตัวในการเรียนตลอดเวลาเพราะอาจารย์สอนโดยการใช้คำถามตลอดเวลา เพื่อนๆสามารถระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์จนสามารถตอบอาจารย์ได้ถูกต้องที่สุด
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ใช้ความถามในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ระดมความคิดในการตอบคำถามได้คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
เทคนิคการสอน 
    1.การใช้คำถามเพื่อระดมความคิด
    2.บทความ พูด อธิบาย วิเคราะห์บทความ











บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่ 23 กันยายา พ.ศ.2557




เนื้อหาที่เรียน
-การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียกว่า วิธีจัดการเรียนรู้
-พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็ก
-การแสดงพัฒนาการ คือ คุณลักษณะ
-ภาพรวมของเด็ก คือ ธรรมชาติของเด็ก
-เครื่องมือของการรวบรวมข้อมูล คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5
-เด็กต้องลงมือกระทำ เด็กถึงจะเกิดการเรียนรู้

6 กิจกรรม


กิจกรรมที่ทำในห้อง





บทความ
1.สอนลูกเรื่องพืช
  -ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
     เลียนแบบการเคลื่อนไหวของต้นไม้
  -ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
     ลดความตึงเครียด สนุกสนาน
  -ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
     ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน และสามารถทำได้ด้วยตนเอง
  -ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
     คณิตศาสตร์ เด็กได้นับจำนวนของต้นไม้ จำแนกประเภทของต้นไม้ แยกขนาด รูปร่างต้นไม้ได้
     วิทยาศาสตร์ เด็กได้สังเกตุ การจัด ว่าต้นไม้ต้องวางในที่มีแสงต้นไม้ถึงจะเจริญเติบโต
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
  เรียนรู้จากการเชื่อมโยงจากนิทานสู่วิทยาศาสตร์ ในเรื่องของภาษา คำพูด เสียง เรื่องราวสิ่งรอบตัว โดยการเล่านิทานให้สนุกสนานน่าสนใจ
3.แนวทางสอนคิดวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย 
  แนวทางการสอนเพื่อให้เด็กสนใจ ครูควรเลือกเรื่องการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนให้เด็กสนใจ วิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการเรียนรู้ ,การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ การเรียนรู้สิ่งรอบตัว โดยให้เด็กตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งรอบๆตัวเด็ก
  แนวปฏิบัติในการสืบเสาะหาความรู้ของเด็ก
    1.ตั้งคำถามให้เด็กเกิดกระบวนการคิด
    2.การหาคำตอบ
    3.หาความรู้เพิ่มเติม
    4.นำเสนอ อภิปราย
    5.นำสิ่งที่นำเสนอไปเชื่อมโยงกับหลักการวิทยาศาสตร์
4.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆของเด็ก
  เด็กเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา โดยการสังเกตุ จำแนก สื่อความหมาย การวัด การทดลอง โดยผ่านการทำกิจกรรมการทำรุ้งกินน้ำ ครูจัดกิจกรรมให้เด็กด้วยการหาสีรุ้ง รูปรุ้ง แล้วให้เด็กผสมสีเพื่อให้เกิดเป็นสีรุ้ง และให้เด็กทำตามกระบวนการของวิทยาศาสตร์


การนำไปประยุกต์ใช้
    จากบทความสามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนนำเสนอไปจัดกิจกรรมในห้องเรียนได้จริง
ประเมินตนเอง
    พัฒนาตนเองเพื่อให้มีความรู้และสามารถผู้อื่นถามมาเราสามารถตอบได้
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนในห้องเรียนมีความตื่นตัวในการเรียนตลอดเวลาเพราะอาจารย์สอนโดยการใช้คำถามตลอดเวลา เพื่อนๆสามารถระดมความคิดในการตอบคำถามของอาจารย์จนสามารถตอบอาจารย์ได้ถูกต้องตามที่สุด
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์ใช้ความถามในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ระดมความคิดในการตอบคำถามได้คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
เทคนิคการสอน
     1.ใช้คำถาม เพื่อระดมความคิด
     2.บทความ พูด อธิบาย วิเคราะห์บทความ




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 5
วันอังคาร ที่ 16 กัยยายน พ.ศ.2557



สรุปเรื่องความลับของแสง


         


           แสง คือ คลื่นชนิดหนึ่งและมีพลังงานการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย
       
 สมบัติพื้นฐานของแสง และของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงคลื่น ได้แก่

  • ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง)
  • ความถี่ (หรือความยาวคลื่น ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง) และ
  • โพลาไรเซชัน (มุมการสั่นของคลื่น ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้)

ความเร็วของแสง  
        การวัดความเร็วของแสงบนโลกนั้นกระทำสำเร็จเป็นครั้งแรกโดย Hippolyte Fizeau ในปี ค.ศ. 1849 เขาทำการทดลองโดยส่องลำของแสงไปยังกระจกเงาซึ่งอยู่ห่างออกไปหลายพันเมตรผ่านซี่ล้อ ในขณะที่ล้อนั้นหมุนด้วยความเร็วคงที่ ลำแสงพุ่งผ่านช่องระหว่างซี่ล้อออกไปกระทบกระจกเงา และพุ่งกลับมาผ่านซี่ล้ออีกซี่หนึ่ง จากระยะทางไปยังกระจกเงา จำนวนช่องของซี่ล้อ และความเร็วรอบของการหมุน เขาสามารถทำการคำนวณความเร็วของแสงได้ 313,000 กิโลเมตร ต่อ วินาที

การหักเหของแสง
        เมื่อแสงวิ่งผ่านตัวกลางโปร่งใสเช่น อากาศ น้ำ หรือ แก้ว ความเร็วแสงในตัวกลางจะลดลงซึ่งเป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์การหักเหของแสง คุณลักษณะของการลดลงของความเร็วแสงในตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูง
         เมื่อลำแสงวิ่งผ่านเข้าสู่ตัวกลางจากสุญญากาศ หรือวิ่งผ่านจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง แสงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ แต่เปลี่ยนความยาวคลื่นเนื่องจากความเร็วที่เปลี่ยนไป ในกรณีที่มุมตกกระทบของแสงนั้นไม่ตั้งฉากกับผิวของตัวกลางใหม่ที่แสงวิ่งเข้าหา ทิศทางของแสงจะถูกหักเห ตัวอย่างของปรากฏการณ์หักเหนี้เช่น เลนส์ต่างๆ ทั้งกระจกขยาย คอนแทคเลนส์ แว่นสายตา กล้องจุลทรรศน์ กล้องส่องทางไกล

สีของแสง
          การมองเห็นสีของแสงแต่ละสีนั้น ถูกจับด้วยดวงตาของมนุษย์และแปลงผลด้วยสมองของมนุษย์ให้เป็นสีต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความยาว ความถี่ของคลื่น และการผสมกันเองของสีแต่ละแสง ซึ่งสีพื้นฐานหรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ ได้แก่สีแดง เขียว น้ำเงิน อีกแบบนึงคือสีทุติยภูมิคือแสงที่มีสองสีมาผสมกันให้เกิดอีกสี (ส่วนแสงสีขาวเกิดจากการผสมของแสงปฐมภูมิทั้งสามสี)

การสะท้อนของแสง
          เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งมายังอีกตัวกลางหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับไปตัวเดิม

  • รังสีตกกระทบ (รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาวัตถุ)
  • รังสีสะท้อน (รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ)
  • เส้นปกติ (เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ)
  • มุมตกกระทบ (มุมที่รังสีตกกระทบกับเส้นปกติ)
  • มุมสะท้อน (มุมที่รังสีสะท้อนกับเส้นปกติ)

การมองเห็นวัตถุ
           การมองเห็นวัตถุต่างๆเกิดจากการที่แสงไปตกกระทบกับสิ่งต่างๆแล้วสะท้อนกลับมาที่ตาเรา ผ่านเข้าม่านตาทำให้เกิดภาพบนจอที่อยู่ด้านหลังลูกตา ข้อมูลจะถูกส่งไปตามเส้นประสาทและสมองจะแปลงข้อมูลเป็นภาพของวัตถุนั้นๆ

การเกิดเงา




          เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉาก
ทางด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทางเดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น  เงา คือ บริเวณมืดหลังวัตถุที่เกิดจากวัตถุที่เป็นตัวกลางทึบแสงมาขวางกั้นทางเดินของแสง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ 
  1. เงามืด คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท
  2. เงามัว คือ เงาบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง และทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท

การนำไปประยุกต์ใช้
          จากการชม วีดีโอ เรื่องความลับของแสง ครูสามารถนำความลับเรื่องแสง มาดัดแปลงจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้ เช่น การนำแผ่นซีดีมาส่องกับแสงแดด แล้วให้กระทบกับผนังกำแพง ให้เด็กเห็นแสงที่ปรากฏ หรือเรื่องเงา ครูและเด็กออกไปยืนการแจ้ง ให้เกิดเป็นเงาของเด็กเอง
ประเมินตนเอง
          จากการชมวีดีโอ เรื่องความลับของแสง ทำให้ได้ความรู้หลายอย่างเกี่ยวกับแสง เรื่องบางอย่างเกี่ยวกับแสง ยังไม่รู้ พอได้ชมวีดีโอ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นมาก
ประเมินเพื่อน
          ในห้องเรียนเพื่อนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียน นั่งฟังอาจารย์บรรยายให้ความรู้ ระดมความคิดตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ดี
ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนด้วยวิธีถามคำถาม กระตุ้นให้นักศึกษาตื้นตัว และพร้อมตอบความถามตลอดเวลา เพื่อเป็นผลดีต่อนักศึกษา จะได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และเป็นความจริง